Friday, May 9, 2014

ข้อพิจารณาในการปลูกผักสวนครัว

ข้อพิจารณาในการปลูกผักสวนครัว



 1. การเลือกสถานที่หรือทำเลปลูก
ควรเลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด อยู่ใกล้แหล่งน้ำไม่ไกลจากที่พักอาศัยมากนัก เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานด้านการปลูก การดูแลรักษา และสะดวกในการเก็บมาประกอบอาหารได้ทันทีตามความต้องการ

2. การเลือกประเภทผักสำหรับปลูก
ควรเลือกปลูกผักให้มากชนิดที่สุด เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารที่หลากหลาย เป็นผักที่สมาชิกในครอบครัวชอบบริโภคและเลือกปลูกผักให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและปลูกให้ตรงกับฤดูกาล



3. สภาพแสงและร่มเงา
มีความจำเป็นในการสังเคราะห์แสงของพืช เพื่อสร้างอาหาร ปริมาณแสงที่ได้รับในพื้นที่ปลูกแต่ละวันนั้น จะมีผลต่อชนิดของผักที่ปลูก แบ่งความต้องการแสงในการปลูกผัก ดังนี้
  • สภาพพื้นที่ไม่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ควรปลูกพืชผักที่เจริญเติบโตในร่มได้ เช่น ชะพลู สะระแหน่ ตะไคร้ โหระพา ขิง ข่า และกะเพรา เป็นต้น
  • สภาพพื้นที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ควรเลือกผักที่สามารถเจริญเติบโตได้ในแสงปกติ เช่น ถั่วฝักยาว คะน้า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง พริกต่าง ๆ ยกเว้น พริกขี้หนูสวน
4. ความพร้อมของผู้ปลูก
  • ผู้ปลูกควรกำหนดว่าจะปลูกผักโดยมีวัตถุประสงค์อะไร เช่น ปลูกเพื่อต้องการได้ผักมาบริโภคประจำวัน ปลูกเพื่องานอดิเรก ปลูกเพื่อจัดสวนตกแต่งบริเวณบ้าน
  • ผู้ปลูกต้องมีความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติของผัก วิธีการปลูกผักตลอดจนการดูแลรักษา
  • แรงงานในการปลูกผัก ควรมีแรงงานในการดูแลรักษาเฉลี่ยวันละประมาณ2 – 3 ชั่วโมง เนื่องจากผักสวนครัวต้องการความพิถีพิถันในการดูแลรักษา
  • ความชำนาญในการปลูกผัก การปลูกให้ได้ผลผลิตดี ผู้ปลูกจำเป็นต้องมีความชำนาญ รู้จักสังเกตในการเจริญเติบโตของผัก และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
5. ชนิดของผักที่จะปลูก
ผักแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันในเรื่องอายุการเก็บเกี่ยว และฤดูกาลเพาะปลูก การวางแผนการปลูกที่เหมาะสม จะทำให้มีผลผลิตผักออกสม่ำเสมอและใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ได้เต็มที่การจำแนกผักตามอายุการเก็บเกี่ยว ดังนี้
  • ผักอายุสั้น ( น้อยกว่า 2 เดือน ) ได้แก่ ผักชี ผักกาดหอม ผักกาดเขียวกวางตุ้ง คะน้า ผักบุ้งจีน ผักกาดหัว ผักกาดขาว แตงกวา ข้าวโพดฝักอ่อน ปวยเหล็ง ผักโขม
  • ผักอายุปานกลาง ( 2 – 5 เดือน ) ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลีบร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว ถั่วแขก หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ พริก แตงโม มะระ บวบฟักทอง ข้าวโพดหวาน มันฝรั่ง มันเทศนต้น ( มากกว่า 1 ปี ) ได้แก่ กุยช่าย ผักหวาน มะเขือ ชะอมสะตอ ชะพลู โหระพา กะเพรา ถั่วพู ตะไคร้ แมงลัก กระชาย ขิง หน่อไม้ฝรั่ง ข่า ขมิ้น
6. ฤดูกาล
ควรเลือกปลูกผักสวนครัวให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพราะจะทำให้ดูแลรักษาง่ายได้ผักที่มีคุณภาพ ผลผลิตดี มีโรคและแมลงรบกวนน้อย ฤดูกาลที่เหมาะสมในการปลูกพืชผักแต่ละชนิด ดังนี้
  • พฤศจิกายน – มกราคม หอมแบ่ง กุยช่าย คื่นฉ่าย กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลีห่อกะหล่ำปม กะหล่ำดอก มะเขือเทศ ถั่วแระญี่ปุ่น หอมแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม
  • กุมภาพันธ์ – เมษายน ผักชี ผักบุ้งจีน ผักกาดหัว ถั่วฝักยาว แตงกวาแตงไทย มะระ ผักกาดขาวปลี ผักคะน้า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดขาว
  • พฤษภาคม – กรกฎาคม ผักคะน้า กุยช่าย บวบเหลี่ยม กวางตุ้งไต้หวันข้าวโพดหวาน หอมแดง
  • สิงหาคม – ตุลาคม ผักชีลาว ผักโขม กุยช่าย ผักกาดขาว ผักกาดเขียวกวางตุ้งหอมแบ่ง มันแกว มันเทศ ผักกาดหอม ผักคะน้า ผักบุ้งจีน พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู มะเขือเปราะ มะเขือยาว

No comments: