Tuesday, May 13, 2014

เทคนิคเบื้องต้นในการปลูก สะเดา

เทคนิคเบื้องต้นในการปลูก สะเดา

การเตรียมกล้าไม้
ก่อนเพาะเมล็ดควรนำ ผลที่ได้จากการเก็บ จากกิ่ง หรือร่วงหล่นตามโคนต้นมาขยำ กับทรายและ ล้างน้ำ เพื่อให้เนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดหลุดออกเสียก่อนแล้ว นำ ไปเพาะหรือผึ่งในที่ร่มให้แห้ง อาจเพาะเมล็ดลงใน ถุงพลาสติก หรือแปลงเพาะซึ่งเตรียมไว้มีขนาดกว้าง 0.75-1 เมตร ความยาวแล้วแต่งสภาพพื้นที่ โดย หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วแปลงกลบดินหนาประมาณ 0.5 ซม. ชั้นบนคลุมด้วยฟางบาง ๆ หลังจากหว่าน เมล็ด รดนํ้าเช้าเย็น 5-7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ซึ่ง การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะหากย้ายชำ กล้าไม้ไม่ทัน ก็สามารถปล่อยให้กล้าไม้ไม่ทัน ก็สามารถปล่อยให้ กล้าไม้โตค้างปีได้ปีต่อมาก็ถอนกล้าตบแต่งให้ มีลักษณะคล้ายเหง้าชำ ในถุงพลาสติกได้ หรือ พื้นที่ใดมีฝนตกดีก็สามารถถอนย้ายปลูกแบบ ไม่มีดินติดรากได้



โดยเปอร์เซ็นต์การรอดตายก็ ไม่แตกต่างจากกล้าไม้ในถุงพลาสติกมากนัก ขนาดกล้าไม้ที่ย้ายชำ ลงในถุงพลาสติกย้ายได้ ตั้งแต่รากเริ่มปริ และแทงยอดอ่อนจนถึงกล้า ใหญ่สำ หรับกล้าขนาดเล็กควรย้ายชำ เมื่อมีใบจริงไม่ตํ่ากว่า 2 คู่ กล้าไม้ที่เหมาะสมในการย้ายปลูกควร สูงประมาณ 8-12 นิ้ว อายุประมาณ 4-5 เดือน

การเตรียมพื้นที่ปลูก การเตรียมพื้นที่จะกระทำ ตามความเหมาะสมของพื้นที่ โดยการใช้รถแทรกเตอร์ไถพรวนก่อน ปลูกและเก็บริบสุมเผาในช่วงฤดูร้อน แล้วปักหลักที่มีขนาดพอสังเกตได้กำ หนดระยะปลูก เพื่อใช้หมายที่ ปลูก ตรวจสอบการรอดตายของไม้ที่ปลูก การปลูกตรวจสอบการรอดตายของไม้ที่ปลูก การปลูกซ่อนใน ภายหลังและความสวยงามเป็นระเบียบในการปลูก ส่วนการขุดหลุมที่เหมาะสมคือ กว้าง X ยาว X ลึก ขนาด 25 X 25 X 25 ซม. ระยะปลูกสามารถใช้ตั้งแต่ 2 X 4 หรือ 4 X 4 เมตร ตามความเหมาะสม และวัตถุประสงค์

การปลูก การปลูกควรใช้กล้าอายุประมาณ 4-5 เดือน สูง ประมาณ 8-12 นิ้ว และถ้าได้กล้าไม้ในถุงพลาสติกค้าง ปีก็ยิ่งดีโดยทำ การตัดรากและยอดแล้วรดนํ้าให้ชุ่มเพื่อให้ แตกรากขึ้นมาใหม่ เมื่อฝนตกหนักก็ย้ายปลูกในวันรุ่งขึ้น กล้าสะเดาจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่ากล้าไม้ที่ เตรียมในปีนั้น ฉีกถุงพลาสติกออกวางกล้าตรงกลางหลุม กลบดินและกดรอบๆ โคนต้นให้แน่น ระดับดินที่กลบ ควรให้เป็นแอ่งลึกกวาระดับรอบประมาณ 1 กว่ามือ เพื่อ รอรับนํ้าฝนเลี้ยงต้นไม้ต่อไป


การบำรุงรักษา

  1. กำ จัดวัชพืช ไม้สะเดาต้องการแสงมากแม้ว่า กล้าไม้สะเดาจะมีความสามารถแก่งแย่งกับพวกวัชพืชได้ ดีก็ตาม แต่ในปีแรกก็จำ เป็นต้องเอาใจใส่ด้านวัชพืชให้ เมื่อมีวัชพืชเบียดบัง แย่งแสงและอาหารจากต้นไม้ 
  2. การใส่ปุ๋ยสำ หรับพื้นที่ที่ความอุดมสมบูรณ์ตํ่า เมื่อกล้าไม้ที่ปลูกตั้งตัวได้แล้ว ควรเร่งการเจริญเติบโต ด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-20-20 ประมาณต้นละ 1 ช้อนกาแฟ โดยการพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นแล้วโรยปุ๋ยตาม 
  3. การลิดกิ่ง ปกติเมื่อสะเดาสูงประมาณ 1 เมตรขึ้นไป จะเริ่มแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม หากต้องการ ให้มีลำ ต้นเปลาตรง ให้ประโยชน์ในการแปรรูปได้มากขึ้น จึงควรหมั่นลิดกิ่งอย่างสมํ่าเสมอ และอาจนำ กิ่งมาทำ ฟืนได้ 
  4. การตัดสางขยายระยะ เมื่อต้นไม้มีเรือนยอดเบียดชิดกัน มีการแก่งแย่งกัน อัตราการเจริญ เติบโตลดลง ควรตัดสางออกมาให้ประโยชน์ในรูปของไม้ขนาดเล็กได้ก่อน อาจตัดออกแถวเว้นแถว หรือ เลือกตัดเป็นต้นๆ ตอของต้นที่ตัดออกจะแตกหน่อต่อไป 5. การป้องกันไฟ สะเดาเป็นไม้ทนไฟ หากไฟไหม้รุนแรง ต้นเดิมอาจตาย แต่ก็จะแตกหน่อใหม่ จึงเป็นสาเหตุให้การเจริญเติบโตชะงักงัน และทำ ให้เกิดแผลตามลำ ต้น จึงควรทำ แนวกันไฟกว้าง ประมาณ 6-8 เมตร รอบแปลงปลูก หลังสะเดาเจริญเติบโตมีเรือนยอดชิดติดกันปกคลุมพื้นที่ปริมาณ วัชพืชจะน้อยลงปัญหาเรื่องไฟก็จะหมดไปด้วย


ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์เปลือกราก เปลือกต้นและผลอ่อน เป็นยาเจริญอาหาร แก้ไข้มาเลเรีย เปลือกรากเป็นยาสมานแผล แก้ไข้ ใบ เมล็ดเป็นยาฆ่าแมลง ฆ่าเชื้อ ใบอ่อนและดอกเป็น อาหารเป็นยาเจริญอาหารและช่วยย่อยอาหาร ดอกแก้พิษเลือดกำ เดา บำ รุงธาตุ ผลแก้โรคหัวใจ กระพี้ แก้นํ้าดีพิการ แก่นแก้คลื่นเหียนอาเจียน รากแก้ลม เสมหะที่แน่นในอกและจุกคอ ยางดับพิษร้อน เปลือกรากแก้วแก้ไข้ ทำ ให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง ยอดอ่อนใช้ถ่ายพยาธิ์ แก้ริดสีดวงและปัสสาวะพิการ เมล็ดสามารถสกัดนํ้ามัน เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตแพร่พันธุ์แมลง


No comments: